วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

สร้างการ์ตูนช่องได้อย่างสนุกสนาน.!

  

"  ลายเส้นและรูปทรงอย่างง่ายๆ
สร้างการ์ตูนช่องได้อย่างสนุกสนาน"


  



            คราวที่แล้วทดลองสร้างรูปทรงง่ายๆด้วยลายเส้นให้เกิด
อารมณ์และอิริยาบท กันไปบ้างแล้ว..ครั้งนี้เรามาทดลองการสร้าง
การ์ตูนช่องกันบ้างไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่น้องๆคิดเลยค่ะ

           ก่อนที่จะวาด..ให้น้องๆคิดก่อนว่า จะนำรูปทรงเรขาคณิตใด
มาสร้างเป็นตัวเอกในการสร้างเรื่องราวน้องๆคงจำกันได้นะค่ะกับรูป
ทรงกลม สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม เรามาลองนำรูปทรงเรขาคณิตทั้ง
สามชนิดนี้มาสร้างการ์ตูนช่างกันค่ะแต่ก่อนอื่นน้องๆจะต้องคิดก่อน
ว่าจะสร้างเรื่องอะไรและ My Story เป็นอย่างไรพยายามคิดเรื่องที่
ง่ายและสนุกๆนะค่ะ เช่น เรื่อง " เจ้าวงกลมจอมซน " เรื่องมีอยู่ว่าเช้า
วันหนึ่งในอากาศที่แจ่มใส เจ้าวงกลมกำลังฝึกกระโดดโลดเต้น ด้วย
ความดีใจเป็นอย่างมากที่ตัวเองกระโดดได้แล้วจนไม่ทันเห็ฯผนังห้อง
เจ้าวงกลมกระโดดไปกระแทกกับผนังห้อง จนตกลงมาหัวหมุนตา
 ลายในที่สุด ...


             เมื่อน้องๆสร้างเรื่องได้แล้ว ก็นำรูปทรงกลม และเส้นอย่างง่าย
 มาสร้างเป็นการ์ตูน 4 ช่องกันนะค่ะ



     สร้างช่องมา 4 ช่องในช่องแรกให้น้องๆนำเส้นตรงแนวนอนมาสร้าง
เส้นแบ่งพื้นดินท้องฟ้าแล้วจึงวาดวงกลมให้พอดีกับเส้นพื้นและวาดรูป
ทรงกลมอีกรูปให้อยู่เกือบถึงเส้นขอบช่องจากนั้นก็นำเส้นตรง, เส้นค้ง
มาสร้างสีหน้าอารมณ์และอิริยาบถการเคลื่อนไหว ( ตามภาพตัวอย่าง
ที่ 1 )  ช่องต่อมาให้น้องๆวาดรูปทรงกลมให้อยู่เหนือเส้นพื้นขึ้นมามาก
กว่าเดิมและใช้เส้นต่างๆมาสร้างสีหน้าอารมณ์และอิริยาบถให้เหมือน
กับว่าเจ้าวงกลมกำลังตกลงมาจากข้างบน ( ตามภาพตัวอย่างที่ 2 )



















        ช่องที่สาม    ให้วาดรูปทรงกลมเหนือขึ้นไปจากเส้นพื้นแต่อยู่ทาง
ด้านขวาของช่อง แล้วใช้เส้นต่างๆมาสร้างการเคลื่อนไหว ( ตามภาพ
ตัวอย่างที่ 3 )   ส่วนช่องสุดท้ายให้วาดรูปทรงกลมเหนือขึ้นไปจากเส้น
พื้นแต่อยู่ทางด้านขวา ของช่อง        แล้วจึงใช้เส้นต่างๆมาสร้างสีหน้า
อารมณ์ให้กับเจ้าวงกลมเพิ่มเติม ( ตามภาพตัวอย่างที่ 4 )


               แค่นี้น้องๆก็ได้การ์ตูนช่องแล้ว..!

และเป็นเรื่องที่คิดขึ้นเองอย่างสนุกสนาน น้องๆสามารถลองนำรูปทรง
อย่างอื่นๆและเส้นต่างๆมาสร้างการ์ตูนช่องที่มีเรื่องราวได้หลากหลาย
 หากน้องท่านใดมีความเข้าใจมากขึ้นแล้วก็สามารถเพิ่มการ์ตูนช่อง
เป็นหกช่อง,แปดช่องหรือมากกว่านั้นก็ได้นะค่ะและทีสำคัญสุดๆเลย
น้องอย่าลืมนำไปประยุต์ต่อยอด กับผลงานในแบบฝึกหัดที่น้องเรียน
กันด้วยนะ..

เราสามารถแบ่งช่องได้หลายๆแบบไม่จำเป็น
ที่ช่องต้องเท่ากันทั้งหมดนะ